วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

บทความที่ 5 วันสำคัญทางศาสนา
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ
วันสำคัญทางศาสนาพุทธที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้
  • วันในแต่ละเดือน ได้แก่
  • บทความที่ 4 การละเล่นของไทย
    การละเล่นเด็กไทย เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันมักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมั

    ม้าก้านกล้วย[แก้]

    ม้าก้านกล้วย เป็นของเล่นที่เด็กผู้ชายที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบมาก เด็กไทยทั่วไปจะรู้จักการเล่นม้าก้านกล้วยเป็นอย่างดี
    วิธีทำม้าก้านกล้วย ทำง่าย เด็กๆสามารถทำเล่นเองได้ ถ้าอยากเล่นม้าก้านกล้วย เด็กๆก็จะถือมีดเข้าไปในสวนหรือที่ทั่วไปตามบริเวณบ้านที่มีต้นกล้วย เพราะหมู่บ้านคนไทยจะปลูกต้นกล้วยไว้แทบทุกหลังคาเรือน
    เมื่อเลือกใบกล้วยที่มีความยาวพอเหมาะ ก็จะตัดใบกล้วยมา เอามีดเลาะเอาใบกล้วยออก เหลือไว้ที่ปลายใบเล็กน้อยเพื่อให้เป็นหางม้า ที่ก้านด้านโคนจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าข้อมือของเด็กๆ ด้านนี้เอง เด็กๆจะกะความยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือสองคืบ แล้วเอามีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านตรงที่กะไว้ฝานบางๆไปทางด้านโคนทั้งสองข้าง เพื่อให้เป็นหูม้า พอได้ขนาดหูยาวตามต้องการแล้วก็เอามือหักก้านกล้วยตรงที่กะจะให้เป็นโคนหูม้า ก้านกล้วยก็จะกลายเป็นรูปม้ามีหูม้าชันขึ้นทั้งสองข้าง เสร็จแล้วก็เอาแขนงไม้ใผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบเศษ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้ เสียบทะลุไปที่ก้าน ไม้ที่เสียบก็จะมีลักษณะเหมือนสายบังเหียนที่ผูกปากม้ากับคอม้า เสร็จแล้วก็ทำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็เสร็จ หาแขนงไม้ไผ่มา ๑ อัน ทำเป็นแส้ขี่ม้า ตอนนี้ก็พร้อมที่จะเล่นม้าก้านกล้วยได้แล้ว
    การเล่นม้าก้านกล้วยก็แล้วแต่เด็กๆจะคิดเล่น เช่น เล่นควบม้าวิ่งแข่งกันหาคนชนะ ควบม้าจัดกระบวนทัพต่อสู้กัน หาอาวุธตามรั้วคือแขนงไม้ไผ่มาทำเป็นดาบรบกัน หรือจะวิ่งแข่งกันเป็นคู่ๆ หากไม่มีเพื่อนก็ควบเล่นคนเดียวที่ลานบ้านหรือเลี้ยวไปตามป่ากล้ายในสวนก็ได้[1]ยที่เปลี่ยนไป
    บทความที่ 2-3 ประเพณีไทย
    ประเพณี (อังกฤษ: tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ
    ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรม
    พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี [1]
    คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
    โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
    บทความที่ 1 คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู
    คุณธรรมความเป็นครู
      คุณธรรม ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
               คำ ว่า "ครู" นั้น แม้โดยรูปแบบจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ระดับตามลักษณะงาน และระดับการศึกษาที่ตนมีบทบาทหน้าที่ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ ครูต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ ๓ ประกอบคือ ๑) มีความรู้ดี ๒) มีความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม
     ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
      ๑. บทบาทของครู
              ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
              ๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
              ๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
              ๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
     ๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
              บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
              ๑. มนุษยโลก คือ สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
              ๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
              ๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ โอตตัปปะ
    ๓. หน้าที่ของครู
              หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
              ๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
              ๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
     ๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม
    คุณลักษณะที่ดีของครู